วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่9

สารานุไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
โรงเรียนที่ทรงก่อตั้ง โดย นายขวัญแก้ว วัชโรทัย

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

โรงเรียนจิตรลดา

โรงเรียนจิตรลดาเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ โดยดัดแปลงส่วนหนึ่งของพระที่นั่งอุดร* พระราชวังดุสิต เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ยังทรงพระเยาว์ โดยในขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างเพิ่มเติมที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับมาประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ แล้ว โรงเรียนจิตรลดาจึงย้ายมาอยู่ที่สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ อบรมพระราชโอรส พระราชธิดา ให้ได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรของข้าราชบริพาร และข้าราชการ หรือผู้ที่ทรงคุ้นเคยเข้ามาเรียนด้วยนอกจากจะทำการสอนสายสามัญแล้ว ยังฝึกอบรมให้นักเรียนมีความรู้ทั่วไปอย่างกว้างขวางฝึกหัดในเรื่อง ดนตรี นาฏศิลป์ ทั้งไทยและสากลกีฬา สวนครัว ลูกเสือ เนตรนารี ฯลฯ มุ่งให้เป็นคนดี มีเมตตากรุณา เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพต่อไป




* พระที่นั่งอุดร อยู่ติดกับพระที่นั่งอัมพรสถาน มีทางเดินเชื่อมต่อทั้งสองอาคาร
[กลับหัวข้อหลัก]

โรงเรียนจิตรลดา

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์
ด้วยพระราชทรัพย์ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ จึงได้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้มีจำนวน ๑๐ โรง โรงเรียนเหล่านี้ได้รับพระราชทานนามว่า “โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์” และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างอีก ๒ โรง

ในปลายพุทธศักราช ๒๕๐๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงช่วยส่งเสริมโครงการจัดตั้งโรงเรียนชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และที่มี ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล แก่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขตต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำไปจัดสร้างโรงเรียน ทรงชักชวนผู้ที่ทรงคุ้นเคยและมีฐานะดีให้ช่วยสนับสนุนด้วย การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคมจึงได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัจจุบันนี้มีมากกว่า ๒๐๐ แห่งทั่วประเทศ

โรงเรียนชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคมที่จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนเล็กๆ มีนักเรียนไม่กี่สิบคน ครูที่สอนเป็นตำรวจตระเวนชายแดนที่ได้รับการฝึกอบรมทางด้านการสอนจา กกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวได้ว่า โรงเรียนเล็กๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้เยาวชนของชาติที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอ่านออกเขียนได้ มีความรู้เกี่ยวกับชาติบ้านเมืองของตนเอง และมีความสำนึกในความเป็นไทย

หากโรงเรียนเหล่านี้โรงเรียนใดมีอาคารเรียนถาวร มีทางคมนาคมเข้าไปถึง อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย และมีนักเรียนตั้งแต่ ๑๐๐ คน ขึ้นไปแล้ว ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขตที่รับผิดชอบช่วยรับผิดชอบช่วยดูแลโรงเรียนนั้น ก็จะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ การประถมศึกษา ขอให้รับมอบโอนไปดำเนินการโดยทางตำรวจตระเวนชายแดนจะมอบโอนให้ทั้งอาคารเรียน นักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนและทรัพย์สนอื่นๆ ของโรงเรียน

[กลับหัวข้อหลัก]

โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (โรงเรียน ตชด.)
พระมหากรุณาธิคุณประการแรกที่มีต่อการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คือ การที่พระราชทานความช่วยเหลือแก่ตำรวจตระเวนชายแดน ในการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนในถิ่นไกลคมนาคม ในปีพุทธศักราช๒๔๙๙ ตำรวจตระเวนชายแดนได้เริ่มโครงการจัดตั้งโรงเรียนชาวเขาเยาวชนไกลคมนาคมขึ้นที่กองตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ชาวเขาและเยาวชนไทยในถิ่นไกลคมนาคม ได้มีโอกาสเรียนรู้หนังสือไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งให้มีความสำนึกว่าเป็นคนไทย ทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับชาวเขาและเยาวชนไทยในถิ่นทุรกันดารไกลคมนาคมเพิ่มมากขึ้น
[กลับหัวข้อหลัก]
ที่มา:สารานุกรม

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 23
การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย โดย นายนันทสาร สีสลับ
เนื่องจากภูมิปัญญาไทยมีความสำคัญดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ดำรงอยู่ เพื่อเป็นฐานความรู้ในการผสมผสานกับวิทยาการสากล ดังนี้
๑. ประเทศยกย่อง "ครูภูมิปัญญาไทย"ให้สามารถทำการถ่ายทอด และพัฒนาผลงานของตนได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยจัดระบบเกื้อหนุนและส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอด ที่ท่านเหล่านี้ดำเนินการอยู่แล้วส่วนหนึ่ง และเชื่อมโยงกระบวนการถ่ายทอดของท่าน เข้ากับกระบวน-การเรียนการสอนในระบบโรงเรียน โดยอาจจัดระบบการเทียบโอนหน่วยกิต การเทียบวุฒิเทียบตำแหน่ง เพื่อให้เกิดการลื่นไหลระหว่างความรู้ ผสานเข้าด้วยกันเป็นระบบการศึกษาที่เป็นหนึ่งเดียว
๒. จัดให้มีศูนย์ภูมิปัญญาไทย ซึ่งแนวคิดนี้ต้องการให้มีแหล่งสำหรับการเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนนั้นๆ เกิดขึ้น อาจเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วในชุมชน เช่น บ้านของผู้ทรงภูมิปัญญาวัด ศาลาของหมู่บ้าน เวทีชาวบ้าน เป็นต้นเพียงแต่เข้าไปช่วยเสริมเพื่อให้สามารถใช้สถานที่นั้นๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาคู่กับสถานศึกษาในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๓. จัดตั้งสภาภูมิปัญญาไทย เนื่องจากลักษณะภูมิปัญญาไทยมีความหลากหลายสมดุลกันเป็นองค์รวม หากนำเรื่องภูมิปัญญาไทยเข้าไปไว้ในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง หรือกรมใดกรมหนึ่ง นโยบายของกระทรวงและกรมนั้น จะเป็นตัวกำหนดกรอบของภูมิปัญญาไทยให้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่อง เช่น หากนำภูมิปัญญาไทยไปไว้ในกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นที่จะถูกยกขึ้นมาพิจารณา คือ ภูมิปัญญาไทยนั้นต้องเป็นเรื่องของการศึกษาเท่านั้น จึงจะได้รับการส่งเสริมและวิธีการส่งเสริมทางหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้สูงคือ การนำภูมิปัญญาไทยไปบรรจุไว้ในโรงเรียน ซึ่งจะขัดกับลักษณะของภูมิปัญญาไทยที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาไทยแต่ละเรื่องเท่านั้น หากเปลี่ยนสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยก็จะไม่เกิด จึงสมควรให้มีสภาภูมิปัญญาไทย เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ และถ่ายทอดภูมิ-ปัญญาของผู้ทรงภูมิปัญญา
๔. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทยด้วยความจำกัดของระบบการจัดสรรเงินงบ-ประมาณจากรัฐบาล ที่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและระยะเวลา รวมทั้งสภาวะการณ์ของประเทศมาเป็นตัวตัดสินว่า โครงการ/งานใดควรได้รับงบประมาณเท่าใด และจะได้รับเงินในปีถัดไปหรือไม่ ทำให้การดำเนินงานส่งเสริมภูมิปัญญาไทยซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาและสร้างสรรค์ความรู้ใหม่จากฐานภูมิปัญญาเดิม ต้องอาศัยระยะเวลานาน ไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าต้องใช้ระยะเวลากี่ปีจึงแล้วเสร็จ การกำหนดงบประมาณเป็นรายปี จึงเป็นมูลเหตุขัดขวางการพัฒนาและการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยเป็นอย่างมากเพื่อแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว การตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะเป็นทุนในการสร้างและเสริมภูมิปัญญาของชาติด้วยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
๕. การคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อให้ภูมิปัญญาไทยอันเป็นมรดกทางปัญญาของแผ่นดินได้อยู่คู่กับคนไทย เป็นทุนทางปัญญาในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมการสงวนและรักษามรดกทางภูมิปัญญาดังกล่าวจึงต้องมีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางภูมิปัญญาเกิดขึ้น เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ในท้องถิ่นและประเทศชาติ ลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทยนี้จึงเปรียบเสมือนระบบคุ้มกันและส่งเสริมปัญญาของชาติ
๖. ตั้งสถาบันแห่งชาติว่าด้วยภูมิปัญญาและการศึกษาไทย เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำงานต่อภาพพจน์และสถานภาพของบุคคลหน่วยงาน/องค์กร/สถาบันต่างๆ การส่งเสริมภูมิปัญญาไทยนั้นยิ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากเนื่องจากกลไกสำคัญในการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยคือการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การสร้างจิต-สำนึก และเห็นคุณค่าของสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาไทยการพัฒนาให้บุคคลต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งสามด้าน (ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม) จำเป็นต้องอาศัยการให้การศึกษาในทุกรูปแบบ นั่นคือ การสร้างสังคมของผู้รับให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ภูมิปัญญาในเรื่องหนึ่งๆให้เกิดขึ้นจนผู้นั้นสามารถไปเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายภูมิปัญญาในเรื่องนั้นๆ จนขยายตัวเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาที่กว้างขึ้น ทั้งในส่วนของการขยายพื้นที่เรียนรู้ และขยายเรื่องที่เรียนรู้ไปสู่การเรียนรู้ในทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกสถานที่จนกลายเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น และประเทศ
๗. การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยทั้งในระดับชาติและระดับโลกระดับชาติ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหลายองค์กร ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทย ในรูปแบบที่หลาก-หลายประจำปีอย่างต่อเนื่อง เช่น ศิลปินแห่งชาติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม คนดีศรีสังคม เป็นต้น มีผลทำให้ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยมีขวัญและกำลังใจ ที่จะเผยแพร่และถ่ายทอดภูมิ-ปัญญาของตนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

ระดับโลก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรตินักปราชญ์ไทย ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี หรือ ๒๐๐ ปี ฯลฯ แห่งชาตกาลของผู้ทรงภูมิปัญญาไทยแต่ละท่าน จนถึงปัจจุบัน องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องนักปราชญ์ไทยให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกแล้ว ๙ ท่าน และฝ่ายไทยได้ร่วมกับยูเนสโกจัดงานเชิดชูเกียรติแล้ว ดังนี้
ครั้งที่ ๑ ฉลองวันประสูติครบรอบ ๑๐๐ ปีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕
ครั้งที่ ๒ ฉลองวันประสูติของสมเด็จ-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖
ครั้งที่ ๓ ฉลองวันพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๑
ครั้งที่ ๔ ฉลองวันพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔
ครั้งที่ ๕ ฉลอง ๒๐๐ ปี กวีเอกสุนทรภู่เนื่องในวาระคล้ายวันเกิด วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙
ครั้งที่ ๖ ฉลองวันเกิดครบ ๑๐๐ ปี ของพระยาอนุมานราชธน วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
ครั้งที่ ๗ ฉลองวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ครั้งที่ ๘ ฉลองวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์-ประพันธ์ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
ครั้งที่ ๙ ฉลองงานพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕

การที่ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องนักปราชญ์ไทยดังกล่าว แสดงถึงจุดเด่นของภูมิปัญญาไทยในสายตาของชาวโลก ซึ่งจะนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยโดยประการทั้งปวง เพราะยูเนสโกจะเชิญชวนให้ประชาคมโลกร่วมกับประเทศไทย จะจัดกิจกรรมต่างๆ เผยแพร่เกียรติประวัติ และผลงานของนักปราชญ์ไทยให้เป็นที่ปรากฏ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและสันติภาพของโลก ตามอุดมการณ์ยูเนสโกและสหประชาชาติด้วย เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-ราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เยือนสำนักงานใหญ่ยูเนสโก เนื่องในวโรกาสการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนก ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้น โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ และทรงบรรยายถึงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรอันงดงามของสมเด็จพระบรมราชชนก ให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาร่วมงานนิทรรศการได้ทราบและชื่นชมโดยทั่วกัน ต่อมาในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการแสดงคอนเสิร์ตในห้องประชุมใหญ่ของยูเนสโก เริ่มด้วยวงออร์เคสตราของนักดนตรีวัยเยาว์อายุระหว่าง ๑๑-๑๘ ปี บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระองค์ได้ทรงพระกรุณาร่วมแสดงด้วย ทำให้เกิดความประทับใจแก่บรรดาผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

“ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน” เป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาของชาวบ้าน


การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของคนไทยที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้น


ข้าวหอมมะลิเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากที่สุดในปัจจุบัน


การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำภาพของผู้ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกมาจัดทำเป็นแสตมป์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]