วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่4

เล่มที่ 15
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2534 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ผึ้ง การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ยาสูบ ไม้สัก ผ้าไทย ชุมชนโบราณในเมืองไทยจากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ น้ำเสีย ขยะมูลฝอย มลพิษทางอากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล

เล่มที่ 16
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2535 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระไตรปิฎกและการชำระพระไตรปิฎก การอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ศิลาจารึก และการอ่านจารึก สังคมและวัฒนธรรมไทย การผลิตหนังสือ การดนตรีสำหรับเยาวชน การช่างและหมู่บ้านช่าง ดาวเทียมเพื่อการเกษตร และ การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการทางด้านการศึกษา

เล่มที่ 17
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2536 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ช้างเผือก ฉันทลักษณ์ไทย ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต โรคตับอักเสบจากไวรัส ของเสียที่เป็นอันตราย การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ปอแก้วปอกระเจา พืชเส้นใย การปรับปรุงพันธุ์พืช และ ข้าวสาลี

เล่มที่ 18
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2537 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ การแต่งกายของคนไทย กฎหมายกับสังคมไทย ประวัติการพิมพ์ไทย ภาษาและอักษรไทย ยาฆ่าแมลง ดินและปุ๋ย การเลี้ยงหมู และ ระบบการค้าผลิตผลการเกษตร

เล่มที่ 19
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2538 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พืชน้ำมัน การถนอมผลิตผลการเกษตร ม้า แมลง เครื่องมือ ทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ศิลปะการนับเบื้องต้น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และ สารกึ่งตัวนำ

เล่มที่ 20
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2538 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ศาสนาและระบบความเชื่อในประเทศไทย ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี เสียงและมลภาวะทางเสียง เลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อัญมณี เวชศาสตร์การบิน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ และ การปลูกถ่ายอวัยวะ

เล่มที่ 21
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2539 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

กระบวนพยุหยาตรา วีรสตรีไทย ศิลปะการทอผ้าไทย เครื่องถม เครื่องปั้น การตลาดและการส่งออกศิลปหัตถกรรม พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และ องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ

ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

ข่าวประจำสัปดาห์ที่3

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเลุมที่ 8-14
เล่มที่ 8
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2526 มีทั้งหมด 7 เรื่อง คือ

ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา การกำเนิดของโรค การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์และวิสัญญีวิทยา เลือดและธนาคารเลือดในประเทศไทย และอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล

เล่มที่ 9
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2528 มีทั้งหมด 13 เรื่อง คือ

เรื่องของยา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา วิธีการทางการแพทย์ในการควบคุมการเจริญพันธุ์ การทำแท้ง การสาธารณสุข โรคมะเร็ง รังสีวิทยา ฟันและเหงือกของเรา เวชศาสตร์ชันสูตร เวชศาสตร์ฟื้นฟู นิติเวชศาสตร์ โภชนาการ และ ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

เล่มที่ 10
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2530 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

โรคทางอายุรศาสตร์ โรคติดต่อและโรคเขตร้อน โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังที่พบบ่อยในประเทศไทย โรคตา โรคหู คอ จมูก จิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และ การปลูกกระดูกข้ามคน

เล่มที่ 11
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2531 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ระบบการสั่งงานของคอมพิวเตอร์ การประยุกต์คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนการด้านคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ และ พัฒนาการอักษรไทยในเครื่องคอมพิวเตอร์

เล่มที่ 12
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2531 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การแพทย์ การศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง การพัฒนาการเกษตรในชนบท การศึกษาการพัฒนา การสหกรณ์ การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาปัจจัยการผลิต และ แผนที่

เล่มที่ 13
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2532 มีทั้งหมด 11 เรื่อง คือ

เรือนไทย ชีวิตชนบท หัตกรรมพื้นบ้าน จิตรกรรมไทย นาฏสิลป์ไทย ตุ๊กตาไทย การละเล่นของไทย อาหารไทย การประดิษฐ์ผักและผลไม้ การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และ ธนาคาร

เล่มที่ 14
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2533 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

พระราชวังในกรุงเทพมหานคร พระราชวังในส่วนภูมิภาค ประติมากรรมไทย อาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่าง เทคโนโลยีชีวภาพ สารพิษและสิ่งปนเปื้อนอาหาร และ สมุนไพร

ที่มา : สารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยขนาดตัวอักษรต่างกัน

เนื้อหา
เล่มที่ 1
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2516 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ดวงอาทิตย์ อุปราคา ท้องฟ้ากลางคืน นก ปลา เครื่องจักรกล พลังงาน อากาศยาน และ ดนตรีไทย

เล่มที่ 2
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2518 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การจำแนกและจัดลำดับหมวดหมู่ของสัตว์ เวลา บรรยากาศ การตรวจอากาศ อุตสาหกรรม อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย การศึกษา กรุงเทพมหานคร และ ตราไปรษณียากรไทย

เล่มที่ 3
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2520 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย ยางพารา ทรัพยากรป่าไม้ ผลิตผลป่าไม้ การทำไม้ วัชพืช วัว ควาย และ ช้าง

เล่มที่ 4
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2521 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต การหายใจ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย ไวรัส ปรากฏการณ์ของอากาศ ภูมิอากาศ รถไฟ การศาสนา การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ และ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

เล่มที่ 5
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2523 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ผัก ไม้ผล อ้อย มันสำปะหลัง พืชหัว การขยายพันธุ์พืช เป็ด ไก่ และ พันธุ์ไม้ป่า

เล่มที่ 6
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2525 มีทั้งหมด 15 เรื่อง คือ

คณิตศาสตร์เบื้องต้น ประวัติและพัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน เซต ตรรกวิทยา ฟังก์ชัน สมการและอสมการ จุด เส้น และผิวโค้ง ระยะทาง พื้นที่ ปริมาตร สถิติ ความน่าจะเป็น เมตริก กราฟ และ คณิตศาสตร์ ธรรมชาติและศิลปะ

เล่มที่ 7
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2525 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

กล้วยไม้ ผีเสื้อในประเทศไทย การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โรคพืช ครั่ง การเลี้ยงปลา การชลประทาน บ้านเรือนของเรา และ โทรคมนาคม(ภาคแรก)

ที่มา สารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารสัปดาห์ที่1

สารานุกรม

โฆษณาสารานุกรมบริเตนนิกา ฉบับ ค.ศ. 1913

สารานุกรม คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้ เป็นคำสมาสจากคำว่า"สาร"และ"อนุกรม" กล่าวคือเป็นความรู้ที่เป็นเรื่องราวถูกจัดเรียงในลำดับ จะมีทั้งประเภทความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะด้านเช่น สารานุกรมการเกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือ จัดทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ เช่น สารานุกรมสำหรับเยาวชน

สารานุกรมที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopædia Britannica) สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการตีพิมพ์ [1] ตีพิมพ์ฉบับแรกในภาษาอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2311-2314 (ค.ศ. 1768–1771) ในเมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์และจำหน่ายในฉบับซีดี

สารานุกรมสามารถเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ดังที่ปรากฏในสารานุกรมที่มีชื่อเสียง สารานุกรมบริเตนนิกาในภาษาอังกฤษและสารานุกรมบร็อกเฮาส์ (Brockhaus)ในภาษาเยอรมัน หรือสารานุกรมอาจจะเป็นเรื่องราวเฉพาะทางเช่น สารานุกรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรืออาจจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มชน และขณะที่บางสารานุกรมจัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่นสารานุกรมสำหรับเยาวชน ที่จะมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และเข้าใจง่าย สารานุกรมจะใช้การจัดเรียงหัวข้อ 2 ลักษณะ คือ เรียงตามอักขระ และ เรียงตามกลุ่มเนื้อหา ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีได้มีการนำสารานุกรมมาจัดเก็บในรูปแบบใหม่รวมถึงการจัดเรียงลำดับข้อมูล ดังตัวอย่างเช่นโครงการวิกิพีเดีย และ เอชทูจีทู (h2g2) เพื่อให้การใช้งานสารานุกรมง่ายต่อการใช้

สารานุกรมเป็นคำสมาสจากคำ สาร และ อนุกรม มีความหมายรวมว่า สาระ หรือ เรื่องราว ซึ่งมีการจัดเรียงเป็นลำดับ หมวดหมู่ คำว่าสารานุกรมในภาษาอังกฤษ คือ Encyclopedia หรือ Encyclopædia ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก εγκύκλιος παιδεία (enkyklios paideia; "in a circle of instruction") จากคำว่า εγκύκλιος หมายถึง circuit shaped. โดย κύκλος หมายถึง circuit และ παιδεία หมายถึง instruction. คำว่า Encyclopedia นี้บางครั้งก็ใช้ว่า Cyclopaedia ซึ่งให้ความหมายเหมือนกัน

ในประเทศไทยมีโครงการจัดทำ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ที่มีลักษณะคล้ายสารานุกรม

อ้างอิง

  1. ^ "Encyclopedias and Dictionaries". Encyclopædia Britannica (15th edition) 18. (2007). Encyclopædia Britannica, Inc.. 257–286.

ที่มา สารานุกรม

แก้ไขหัวข้อโปรเจ็กครับ

http://www.mediafire.com/?ntrakoxjd5ut8yi

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553