วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (โดยย่อ)

คำปรารภ (ย่อ)
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้เมื่อ ๑๐ ธ.ค.๙๘ มีใจความว่าปัจจุบันมีความรู้มากอย่างที่ควรจะรู้ ถ้าไม่มีตำรับตำราสำหรับย่นเวลาในการศึกษาเล่าเรียนแล้ว กว่าจะรู้อะไรสักอย่างต้องเสียเวลาค้นมาก ถ้าเรามีหนังสือสารานุกรมอยู่ จะเปิดดูได้ทีเดียวไม่เสียเวลาค้นหาในหนังสือต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้นานาอารยประเทศจึงได้ทำหนังสือสารานุกรมซึ่งบรรจุความรู้แทบทุกสาขาวิชาไว้ เพื่อให้พลเมืองของเขาศึกษาค้นคว้าได้ง่ายไม่เสียเวลา
คำนำ (ย่อ)
การทำสารานุกรมนี้ราชบัณฑิตยสถานได้เคยเริ่มดำเนินการจัดทำมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ แต่ต้องหยุดชะงักลง ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๗ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในตำแหน่งบังคับบัญชา ราชบัณฑิตยสถาน ได้เสนอให้ราชบัณฑิตยสถานวางโครงการจัดทำสารานุกรมขึ้นใหม่
สารานุกรมเป็นหนังสือ จัดอยู่ในประเภทหนังสือสำหรับค้นเช่นเดียวกับพจนานุกรม วัตถุประสงของการจัดทำหนังสือก็คือ ประการแรก จะต้องอธิบายอย่างย่อ ๆ และเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้อ่านซึ่งแม้จะไม่มีความรู้พิเศษเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ก็สามารถเข้าใจได้ทันที ประการที่สอง โดยมากมักจะมีการจัดระเบียบด้วยการเรียงลำดับตัวอักษร หรือไม่ก็โดยวิธีอื่นใดที่จะทำให้ผู้อ่านค้นหาได้สะดวกและรวดเร็ว
สารานุกรมมุ่งไปในทางที่จะอธิบายเรื่องราวของสิ่งต่าง ๆ และความคิดของตน ซึ่งบางเล่มก็อธิบายทุก ๆ เรื่องที่สามารถอธิบายได้ บางเล่มก็อธิบายเฉพาะเรื่อง เฉพาะวิชา
ในขั้นแรกนี้ จะจัดทำเป็นเรื่องขนาดเล็ก บรรจุคำถามที่เห็นสมควรเลือกเป็นคำตั้งมีข้อความอธิบายย่อบ้าง พิศดารบ้าง ตามสมควรแก่เรื่องในคำนั้น ๆ เพื่อเป็นการวางรากฐานไว้คราวหนึ่งก่อน ต่อไปอาจขยายเป็นขนาดใหญ่และพิศดารยิ่งขึ้น
เรื่องที่จะนำมาอธิบายนั้น อยู่ในขอบเขตหัวข้อดังต่อไปนี้
๑. บุคคลสำคัญ
๒. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวของโลก
๓. ประเทศ ภูมิภาค นคร เมือง ฯลฯ
๔. เรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์
๕. เชื้อชาติของมนุษย์
๖. นิยายโบราณ
๗. ศาสนา
๘. ปรัชญา
๙. ลัทธินิกายต่าง ๆ
๑๐. หนังสือสำคัญของโลก
๑๑. ตำนานและนิทานต่าง ๆ
๑๒. ตัวสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องวรรณคดี
๑๓. สังคมและการเมือง
๑๔. ครอบครัวที่สำคัญ
๑๕. สถาบันต่าง ๆ (สิ่งที่ตั้งขึ้นเป็นขนบประเพณีหรือเป็นสถานที่เกี่ยวกับการปกครอง วิทยาการ สังคม เป็นต้น)
๑๖. วันหยุดงานและพิธีรีตอง
๑๗. วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม และวัฒนธรรม (วรรณคดี ศิลปกรรม)
๑๘. เศรษฐกิจ
คำชี้แจง (ย่อ)
การเรียงลำดับคำ ได้ใช้หลักการเรียงตามหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสวถาน พ.ศ.๒๔๙๓
ศักราช ใช้พุทธศักราชเป็นหลัก
มาตรา ชั้ง ตวง วัด ใช้มาตราเมตริก เป็นหลัก
คำที่เป็นชื่อย่อยของสิ่งบางอย่างจะไม่แยกเก็บที่คำนั้น ๆ เช่น คำ "ข้าวกระตาบ" หรือ "ต่อ" ซึ่งเป็นชื่อย่อยบอกประเภทของเรือ ไม่แยกเก็บที่คำนั้น ๆ แต่จะไปรวมอธิบายที่คำ "เรือ" เว้นแต่คำใดที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษ
คำที่ใช้เป็นคำนำหน้าคำอื่นเช่น "พระ" มีมากด้วยกัน เมื่อเป็นเช่นนี้คำใดที่จะแยกออกได้เช่น พระศรีรัตนศาสดาราม พระสูตร ก็จะเก็บที่ศรีรัตนศาสดารามและสูตร ถ้าค้นหาที่คำ "พระ" ไม่พบก็ขอให้ค้นที่คำซึ่งเป็นชื่อของสิ่งนั้น ๆ โดยตรง

ที่มา:สารานุกรมไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น