วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่9

สารานุไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
โรงเรียนที่ทรงก่อตั้ง โดย นายขวัญแก้ว วัชโรทัย

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

โรงเรียนจิตรลดา

โรงเรียนจิตรลดาเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ โดยดัดแปลงส่วนหนึ่งของพระที่นั่งอุดร* พระราชวังดุสิต เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ยังทรงพระเยาว์ โดยในขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างเพิ่มเติมที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับมาประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ แล้ว โรงเรียนจิตรลดาจึงย้ายมาอยู่ที่สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ อบรมพระราชโอรส พระราชธิดา ให้ได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรของข้าราชบริพาร และข้าราชการ หรือผู้ที่ทรงคุ้นเคยเข้ามาเรียนด้วยนอกจากจะทำการสอนสายสามัญแล้ว ยังฝึกอบรมให้นักเรียนมีความรู้ทั่วไปอย่างกว้างขวางฝึกหัดในเรื่อง ดนตรี นาฏศิลป์ ทั้งไทยและสากลกีฬา สวนครัว ลูกเสือ เนตรนารี ฯลฯ มุ่งให้เป็นคนดี มีเมตตากรุณา เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพต่อไป




* พระที่นั่งอุดร อยู่ติดกับพระที่นั่งอัมพรสถาน มีทางเดินเชื่อมต่อทั้งสองอาคาร
[กลับหัวข้อหลัก]

โรงเรียนจิตรลดา

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์
ด้วยพระราชทรัพย์ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ จึงได้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้มีจำนวน ๑๐ โรง โรงเรียนเหล่านี้ได้รับพระราชทานนามว่า “โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์” และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างอีก ๒ โรง

ในปลายพุทธศักราช ๒๕๐๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงช่วยส่งเสริมโครงการจัดตั้งโรงเรียนชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และที่มี ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล แก่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขตต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำไปจัดสร้างโรงเรียน ทรงชักชวนผู้ที่ทรงคุ้นเคยและมีฐานะดีให้ช่วยสนับสนุนด้วย การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคมจึงได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัจจุบันนี้มีมากกว่า ๒๐๐ แห่งทั่วประเทศ

โรงเรียนชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคมที่จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนเล็กๆ มีนักเรียนไม่กี่สิบคน ครูที่สอนเป็นตำรวจตระเวนชายแดนที่ได้รับการฝึกอบรมทางด้านการสอนจา กกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวได้ว่า โรงเรียนเล็กๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้เยาวชนของชาติที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอ่านออกเขียนได้ มีความรู้เกี่ยวกับชาติบ้านเมืองของตนเอง และมีความสำนึกในความเป็นไทย

หากโรงเรียนเหล่านี้โรงเรียนใดมีอาคารเรียนถาวร มีทางคมนาคมเข้าไปถึง อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย และมีนักเรียนตั้งแต่ ๑๐๐ คน ขึ้นไปแล้ว ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขตที่รับผิดชอบช่วยรับผิดชอบช่วยดูแลโรงเรียนนั้น ก็จะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ การประถมศึกษา ขอให้รับมอบโอนไปดำเนินการโดยทางตำรวจตระเวนชายแดนจะมอบโอนให้ทั้งอาคารเรียน นักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนและทรัพย์สนอื่นๆ ของโรงเรียน

[กลับหัวข้อหลัก]

โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (โรงเรียน ตชด.)
พระมหากรุณาธิคุณประการแรกที่มีต่อการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คือ การที่พระราชทานความช่วยเหลือแก่ตำรวจตระเวนชายแดน ในการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนในถิ่นไกลคมนาคม ในปีพุทธศักราช๒๔๙๙ ตำรวจตระเวนชายแดนได้เริ่มโครงการจัดตั้งโรงเรียนชาวเขาเยาวชนไกลคมนาคมขึ้นที่กองตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ชาวเขาและเยาวชนไทยในถิ่นไกลคมนาคม ได้มีโอกาสเรียนรู้หนังสือไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งให้มีความสำนึกว่าเป็นคนไทย ทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับชาวเขาและเยาวชนไทยในถิ่นทุรกันดารไกลคมนาคมเพิ่มมากขึ้น
[กลับหัวข้อหลัก]
ที่มา:สารานุกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น